รับทำบัญชี ยื่นภาษี ครบวงจร โดยสำนักงานคุณภาพ

เราให้บริการรับทำบัญชีและบริการอื่นๆ ด้านภาษีแบบครบวงจร มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดทำบัญชีมามากกว่า 500 กิจการตลอดระยะเวลา 30 ปี เราเข้าใจอย่างแท้จริงในกระบวนการจัดทำงบการเงินและมาตรฐานรายงานทางการเงิน อีกทั้งยังมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาของลูกค้ามาแล้วมากมายในหลากหลายเคส จึงทำให้เรามั่นใจว่าองค์ความรู้ที่เรามีสามารถสร้างประโยชน์ให้กิจการของลูกค้าได้ทั้งในเชิงกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ และ การวางระบบบัญชี อย่างครบวงจร

ทำไมต้องเลือกเรา

4 เหตุผลที่ควรใช้บริการรับทำบัญชีของเราได้แก่:

  1. ความเชี่ยวชาญทางด้าน การเงิน การบัญชี และ ภาษีอากร กว่า 30 ปีในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งการจัดทำบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน และ กฎหมายประมวลรัษฎากร
  2. กระบวนการทำงานที่เป็นระบบจนเป็นที่ยอมรับของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในนาม “สำนักงานบัญชีคุณภาพ” ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในปี พ.ศ. 2555 เป็นระยะเวลาร่วม 10 ปี
  3. เป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมคุณภาพการบริการ และโครงสร้างกิจการเพื่อตอบโจทย์ต่อสภาพการแข่งขันในยุคปัจจุบัน
  4. มีความตระหนักในด้านการปรับตัวต่อเทคโนโลยี เพราะเราเชื่อว่าเทคโนโลยีไม่ใช่แค่เครื่องมืออีกต่อไป แต่เทคโนโลยี คือโครงสร้างของธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต

ทางเราพร้อมที่จะให้บริการคุณลูกค้า ทางด้านบัญชีอย่างครบวงจร และสร้างความมั่นใจว่าทางเราจะเป็นส่วนหนึ่งของคุณลูกค้าที่ทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างยั่งยืน

บริการของเรา

  • รับทำบัญชีบัญชีอย่างครบวงจร ตามมาตราฐานทางการบัญชี
  • การจัดทำงบทดลอง และเอกสารอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อส่งในการตรวจสอบบัญชี
  • การจัดทำรายงานทางการเงินประจำปี
  • รายงานแสดงฐานะทางการเงิน
  • งบกำไรขาดทุน
  • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
  • งบกระแสเงินสด
  • หมายเหตุประกอบรายงานฐานะทางการเงิน
  • การจัดทำและยื่นแบบแสดงรายการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.94 , ภงด.90)
  • ให้คำปรึกษาและวางแผนทางด้านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • บริการขอคืนภาษี
  • การจัดทำและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทุกประเภท สำหรับนิติบุคคล
  • ให้คำปรึกษาและวางแผนโครงสร้างภาษีนิติบุคคล
  • การจัดทำสรุปรายงานภาษีขายและภาษีซื้อประจำเดือน
  • การจัดทำและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือน (ภพ.30)

ขั้นตอนการทำงาน

1. ทำความเข้าใจในกิจการของลูกค้า

เก็บข้อมูลในมิติต่างๆ เช่น การทำความเข้าใจของโครงสร้างรายได้ และค่าใช้จ่ายของกิจการ ทำความเข้าใจในเรื่องวัตถุประสงค์ของกิจการ และ การทำความเข้าใจในภาระต่างๆ ของกิจการเพื่อให้เกิดความเข้าใจสูงสุดในการวางระบบเอกสาร และการเชื่อมต่อต่างๆ หลังจากที่มีความเข้าใจในตัวกิจการแล้ว ทางเรายังให้บริการในการดำเนินการจดทะเบียนบริษัท กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

2. การวางระบบเอกสารและโปรแกรมสำเร็จรูป

หลังจากที่ทำความเข้าใจในกิจการของลูกค้า แล้วทาง เอ.พี จะทำการแนะนำระบบเอกสารที่เป็นไปตามมาตรฐานของการจัดทำรายงานทางการเงินที่กำหนดไว้ เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังแนะนำและให้คำปรึกษาในการนำโปรแกรมซอพแวร์สำเร็จรูปมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ และ กระบวนการจัดทำรายงานทางการเงิน เช่น

  • การนำระบบ POS มาใช้เพื่อให้กิจการสามารถออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าได้
  • การนำระบบสินค้าคงเหลือ มาประยุกต์ใช้เพื่อทำการติดตามสินค้าคงคลัง และการจัดทำต้นทุนขายที่แม่นยำ
  • การนำโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปมาใช้เพื่อรองรับการขายของออนไลน์

3. การรวบรวมรายการค้าจากช่องทางต่างๆ

ทางเราจะรวบรวมรายการค้าจากช่องทางต่างๆตามที่ได้วางระบบไว้ในขั้นตอนที่แล้ว ทั้งนี้ทางเราสามารถรวบรวมรายการค้าได้หลายรูปแบบ เช่น กระดาษ ไฟล์ รวมถึง รายการค้าจากการเชื่อมต่อ Open API ของระบบต่างๆ

4. การวิเคราะห์รายการค้า

จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์รายการค้าคือ การทำความเข้าใจถึงผลกระทบของรายการค้าของกิจการ ที่มีต่อ สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ เพื่อให้สามารถคาดคะเนถึงหลักการบันทึกบัญชีที่ถูกต้อง

5. บันทึกรายการในสมุดรายวันขั้นต้นและสมุดรายวันทั่วไป

ทางเราจะนำผลวิเคราะห์รายการค้าจากข้อที่ 4 มาลงบันทึกในสมุดรายวันตามหน้าที่และวัตถุประสงค์ของสมุดรายวันแต่ละประเภท โดยจะเริ่มจากการบันทึกในสมุดรายวันขั้นต้นเพื่อแยกประเภท ของรายการค้า และ บันทึกในสมุดรายวันทั่วไปตามหลักของบัญชีคู่ในลำดับถัดไป ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการจัดเก็บข้อมูลรายการค้าที่มีประสิทธิภาพและเป็นหมวดหมู่

6. การผ่านรายการไปแยกประเภท

นำรายการค้าที่เกิดขึ้นมาแยกประเภท และจัดหมวดหมู่ โดยบัญชีแยกประเภท จะมี 2 ประเภท ดังนี้

  • บัญชีแยกประเภททั่วไป: บัญชีหลักในจัดเก็บยอดรวมของบัญชีแต่ละประเภท ได้แก่ บัญชีแยกประเภททรัพย์สิน บัญชีแยกประเภทหนี้สิน บัญชีแยกประเภทส่วนของเจ้าของ บัญชีแยกประเภทรายได้ และ บัญชีแยกประเภท ค่าใช้จ่าย
  • บัญชีแยกประเภทย่อย: บัญชีที่ใช้ในการจัดเก็บยอดรวมของบัญชีย่อยจากเพื่อทำการแยกประเภทและแสดงผลในรายละเอียดของบัญชีหลักนั้นๆ เช่น
    • บัญชีค่าใช้จ่าย รหัส 500
    • ค่าโทรศัพท์ รหัส 500-1
    • เงินเดือน ค่าจ้าง รหัส 500-2
    • ค่าขนส่งสินค้าเข้า รหัส 500-3

7. การจัดทำงบทดลอง

การนำบัญชีแยกประเภทในแต่ละหมวดหมู่มารวบรวมสรุปผลยอดคงเหลือให้เป็นหมวดบัญชีหลัก 5 หมวดดังนี้

  • หมวดสินทรัพย์
  • หมวดหนี้สิน
  • หมวดส่วนของเจ้าของ (ทุน)
  • หมวดรายได้
  • หมวดค่าใช้จ่าย

โดยจุดประสงค์ของการทำงบทดลอง คือ ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของขั้นตอนของการบันทึกบัญชีโดยจะตรวจสอบจาก ผลรวมด้าน เดบิต เครดิตและยอดคงเหลือของบัญชีว่าได้แสดงยอดคงเหลือถูกต้องตามมาตรฐานของกระบวนการจัดทำรายงานทางการเงิน ณ ช่วงเวลานั้นหรือไม่

8. บันทึกรายการปรับปรุงและผ่านรายการปรับปรุงไปยังรายการแยกประเภท

การบันทึกรายการปรับปรุงเพื่อปรับปรุงรายการที่บันทึกไว้เพื่อทำให้ยอดคงเหลือทางบัญชีสามารถสะท้อนความเป็นจริง ณ ช่วงเวลา ตามหลักของมาตรฐานรายงานทางการเงิน

ตัวอย่าง: การปรับปรุงรายได้ค้างรับ ที่กิจการได้รับชำระเพิ่มเติมมาระหว่างงวด

รายการที่บันทึกก่อนหน้านี้:

  • เดบิต รายได้ค่าเช่าค้างรับ 5,000
  • เครดิต รายได้ค่าเช่า 5,000
  • รายการปรับปรุง:
  • เดบิต เงินสด 5,000
  • เครดิต รายได้ค้างรับ 5,000

หลังจากที่บันทึกรายการปรับปรุงเรียบร้อย จะทำการผ่านรายการแยกประเภทอีกครั้งเพื่อให้บัญชีแยกประเภทมีความถูกต้อง

9. การจัดทำงบทดลองหลังจากที่บันทึกรายการปรับปรุงเสร็จสิ้น

รวบรวมยอดคงเหลือรายการปรับปรุงที่เกิดขึ้นทั้งหมดเพื่อนำไปแก้ไขยอดคงเหลือทางบัญชีของงบทดลองในแต่ละหมวด เพื่อ ให้งบทดลองสะท้อนความเป็นจริงหลังจากพิจาราณารายการปรับปรุงต่างๆ

10. การจัดทำงบการเงิน

จัดทำงบการเงินหรือรายงานทางการเงินต่างๆตามความต้องการในแต่ละประเภทกิจการ ดังนี้

  • งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)
  • งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
  • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (Statement of Changes Equity)
  • หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statement)
  • งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement)

11. การบันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปและผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท

การปิดยอดรวมของบัญชี ที่มีผลกระทบต่อบัญชีทุนของกิจการ เพื่อให้ยอดคงเหลือในงบทดลองคงเหลือแต่บัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเท่านั้น

ตัวอย่างบัญชีที่มีผลกระทบต่อบัญชีทุนของกิจการ

  • บัญชีรายได้
  • บัญชีค่าใช้จ่าย
  • บัญชีถอนใช้ส่วนตัว

12. การจัดทำงบทดลองหลังปิดบัญชี

หลังจากการปิดบัญชีเสร็จสิ้น จะต้องปรับยอดคงเหลือในงบทดลอง เพื่อให้ ยอดคงเหลือ มีจำนวนถูกต้อง แสดงในหมวดหมู่ที่ถูกต้อง ก่อนจะนำยอดคงเหลือในงบทดลองไปใช้ในรอบบัญชีถัดไป หรือ ที่เรียกว่า “ยอดยกมา”

ติดต่อสอบถาม

ติดต่อสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของเรา