รับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยมืออาชีพ

บริการรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยมืออาชีพ ประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี โดยทางเราจะทำการเตรียมเอกสารรวมถึงการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งรูปแบบการจดทะเบียน ออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการประหยัดเวลาในการดำเนินการและการเตรียมเอกสารส่วนดังกล่าว

ความสำคัญของการจด VAT

การจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นคือ VAT 7% เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ซื้อขายและให้บริการ ภายในประเทศ โดยกฎหมายมีข้อบังคับให้กิจการที่มีรายได้จากการดำเนินงานเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และนับจากวันที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกิจการมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพกรในทุกๆเดือน ถึงแม้กิจการมีต้นทุนทางภาษีที่เพิ่มขึ้น แต่การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินงานของกิจการ เนื่องจาก การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นทำให้กิจการสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและยังเพิ่มความสามารถในการประกอบการในอีกหลายๆประเด็น

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีของการจด VAT

  • กิจการสามารถขอภาษีซื้อคืนได้: ในกรณีที่กิจการมีค่าใช้จ่ายที่เข้าเกณฑ์ภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการสามารถนำมาหักลบกับภาษีขายที่ต้องนำส่งดังนี้ – ภาษีที่ต้องชำระรายเดือน = ภาษีขายประจำเดือน – ภาษีซื้อประจำเดือน ในกรณีที่ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายกิจการสามารถทำการขอคืนภาษีในรอบเดือนนั้นได้
  • มีโอกาสในการขายมากขึ้นในการขายแบบ Business to Business​ (การทำธุรกิจระหว่างเจ้าของธุรกิจสู่เจ้าของธุรกิจ): เมื่อกิจการจดทะเบียน VAT แล้วจะทำให้กิจการสามารถออกใบกำกับภาษีขายเพื่อให้กิจการนำไปเป็นภาษีซื้อประจำเดือนนั้นๆได้

  • ช่วยให้การบริหารงานและการทำบัญชีเป็นระบบมากขึ้น: เนื่องจากต้องมีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในทุกๆ เดือน กิจการจึงจำเป็นต้องวางระบบเอกสาร ตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ รวมถึงการวางระบบบัญชี เพื่อให้กิจการมั่นใจได้ว่า มีการนำส่งภาษีครบถ้วน โดยไม่เกิดค่าปรับตามหลัง
  • กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น: ก่อนที่จะจดภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น กิจการต้องดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลตามกฎหมายก่อนที่จะทำการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้กิจการสามารถนำเอกสารต่างๆ จากการจดทะเบียนทั้งหมดอ้างอิงถึงความมีตัวตนได้

ข้อเสียของการจด VAT

  • ราคาสินค้าหรือบริการที่ทำการซื้อขายต้องมีการบวก VAT เพิ่ม 7% จึงทำให้กิจการจะมีราคาสินค้าและบริการแพงขึ้น
  • กิจการมีหน้าที่ความรับผิดชอบมากขึ้นในการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่สรรพกรในทุกๆเดือนรวมถึงการนำส่งรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย
  • กิจการที่มีขนาดเล็กจะมีภาระมากขึ้นในการบริหารกระแสเงินสดเนื่องจากกิจการจะต้องทำการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน

เอกสารที่ต้องใช้และขั้นตอน

เอกสารที่ต้องใช้และขั้นตอนในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีดังนี้:

  1. เตรียมเอกสารและหลักฐานดังนี้:
    • แบบ ภพ.01 และ ภพ.01.1 (ในกรณีที่ใช้สิทธิ) จำนวนอย่างละ 4 ฉบับ
    • หลักฐานการยินยอมให้ใช้สถานที่
    • แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการ พร้อมถาพถ่ายของสถานประกอบการที่แสดงให้เห็นบ้านเลขที่
    • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ
    • สำเนาใบทะเบียนพานิชย์
  2. ดำเนินการยื่นเอกสารต่อกรมสรรพากรซึ่งทางเราดำเนินการได้ทั้งสองช่องทางในรูปแบบออนไล์และออฟไลน์
  3. ตรวจสอบการอนุมัติคำร้อง
  4. เมื่อมีการอนุมัติคำร้องผู้ประกอบการจะเริ่มออกใบกำกับภาษีขายได้
  5. รอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20) จากทางกรมสรรพากร

*หมายเหตุ: ปัจจุบันการจดทะเบียนนิติบุคล และการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถดำเนินการพร้อมกันได้แล้ว โดยเราสามารถดำเนินการให้ลูกค้าได้อย่างครบวงจรเนื่องจากเราเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ทำไมต้องเลือกเรา

นี่เป็น 5 เหตุผลว่าทำไมควรเลือกจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับเรา:

  1. ความเชี่ยวชาญทางด้าน การเงิน การบัญชี และ ภาษีอากร กว่า 30 ปีในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งการจัดทำบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน และ กฎหมายประมวลรัษฎากร
  2. กระบวนการทำงานที่เป็นระบบจนเป็นที่ยอมรับของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในนาม “สำนักงานบัญชีคุณภาพ” ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในปี พ.ศ. 2555 เป็นระยะเวลาร่วม 10 ปี
  3. เป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมคุณภาพการบริการ และโครงสร้างกิจการเพื่อตอบโจทย์ต่อสภาพการแข่งขันในยุคปัจจุบัน
  4. มีความตระหนักในด้านการปรับตัวต่อเทคโนโลยี เพราะเราเชื่อว่าเทคโนโลยีไม่ใช่แค่เครื่องมืออีกต่อไป แต่เทคโนโลยี คือโครงสร้างของธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต
  5. มีความเชี่ยวชาญในการในใช้ระบบ E-service ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมนิติบุคคลของหน่วยงานรัฐบาล

ติดต่อสอบถาม

ติดต่อสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของเรา